วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การเคลื่อนที่

การเคลื่อนที่ (อังกฤษ: motion) คือ การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งวัดโดยผู้สังเกตที่เป็นส่วนหนึ่งของกรอบอ้างอิง เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เซอร์ไอแซก นิวตัน ได้เสนอกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันในหนังสือ Principia ของเขา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกฎพื้นฐานของฟิสิกส์ดั้งเดิม การคำนวณการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ โดยใช้ฟิสิกส์ดั้งเดิมนั้นประสบความสำเร็จมาก จนกระทั่งนักฟิสิกส์เริ่มศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก
นักฟิสิกส์พบว่า ฟิสิกส์ดั้งเดิมไม่สามารถคำนวณสิ่งที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงได้แม่นยำ เพื่อแก้ปัญหานี้
อองรี ปวงกาเร และ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้เสนอทฤษฎีอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุ เพื่อใช้แทนของกฎของนิวตัน กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันกำหนดให้อวกาศและเวลาเป็นสิ่งสัมบูรณ์ แต่ทฤษฎีไอน์สไตน์กับปวงกาเร ซึ่งเรียกว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ กำหนดให้ค่าเหล่านี้เป็นสิ่งสัมพัทธ์ ซึ่งต่อมา ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษก็เป็นที่ยอมรับในการอธิบายการเคลื่อนที่ เพราะทำนายผลลัพธ์ได้แม่นยำกว่า อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันยังเป็นที่ใช้กันอยู่ โดยเฉพาะงานด้านฟิสิกส์ประยุกต์และงานวิศวกรรม เพราะสามารถคำนวณได้ง่ายกว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ


การเคลื่อนที่ ในแนวตรง

อัตราเร็ว คือการเปลี่ยนแปลง ระยะทาง ต่อเวลา

อัตราเร็วเฉลี่ย หน่วย เมตร/วินาที(m/s)
s = ระยะทางที่เคลื่อนที่ได้ (m) ตามแนวเคลื่อนที่จริง
t = เวลาในการเคลื่อนที่ (s)


ความเร็ว คือ การเปลี่ยน แปลงการกระจัด

วามเร็วเฉลี่ย หน่วย เมตร/วินาที (m/s)

s = การกระจัด (m) คือ ระยะทางที่สั้นที่สุดในการย้ายตำแหน่ง หนึ่งไป อีกตำแหน่งหนึ่ง

ความเร่ง คือ อัตราการเปลี่ยน ความเร็ว

ความเร่ง หน่วย เมตรต่อ วินาที2( m/s2)

a = ความเร่ง



การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง

การเคลื่อนที่ในแนวตรงด้วยความเร่งคงที่ มีสูตรดังนี้

s = vt
u = ความเร็วเริ่มต้น (m/s)v = ความเร็วตอนปลาย (m/s ) s = ระยะทาง(m)a = ความเร่ง ( m/s2)



การเคลื่อนที่ในแนวดิ่งภายใต้แรงดึงดูดของโลก

1.v = u - gt
u = ความเร็วต้น เป็น + เสมอ

v = ความเร็วปลาย + ถ้าทิศเดียวกับ u และเป็น - ถ้าทิศตรงขามกับ us หรือ h = ระยะทางเป็น + ตอนวิ่งขึ้น และเป็น - ตอนวิ่งลง

3.v2 = u 2+2gh
g = ความเร่งจากแรงโน้มถ่วง


แบบทดสอบ

1.ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ได้มาจากการกระทำในข้อใด

*การสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติ,การทดลองในห้องปฏิบัติการ และ การสร้างแบบจำลองทางความคิด

2.ต่อไปนี้ข้อใดเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ1. ลูกฟุตบอลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม2. โต๊ะเรียนสูงจากพื้นประมาณ 80 เซนติเมตร3. น้ำตาลทรายขาวมีรสหวานกว่าน้ำตาลทรายแดงคำตอบที่ถูก คือ

*ข้อ 1 และ 3

3.ต่อไปนี้ข้อใดเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ1. เสื้อผ้าสีเข้มเหมาะสำหรับคนอ้วน2. นักเรียนเดินทางจากบ้านถึงโรงเรียนใช้เวลา 20 นาที3. วันนี้อากาศร้อนมาก วัดอุณหภูมิได้ 38 องศาเซลเซียสคำตอบที่ถูกคือ

*ข้อ 2 และ 3

4.จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้1. มวล เวลา ความยาว เป็นปริมาณฐานทั้งหมด2. ความเร่ง ความดัน พลังงาน เป็นปริมาณอนุพัทธ์ทั้งหมด 3. ความเร็ว ความถี่ อุณหภูมิ เป็นปริมาณฐานทั้งหมดคำตอบที่ถูกคือ
*ข้อ 1 และ 2

5.ต้องการวัดความกว้างของหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ควรใช้เครื่องมือวัดชนิดใด
*ไม้บรรทัด

6.จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้1. น้ำหนัก ความเร่ง การกระจัด เป็นปริมาณเวกเตอร์2. สนามแม่เหล็ก ความเร็ว พลังงาน เป็นปริมาณเวกเตอร์3. มวล ความยาว อุณหภูมิ เป็นปริมาณสเกลาร์คำตอบที่ถูกคือ
*ข้อ 1 และ 3

7.ระบบหน่วยระหว่างชาติ ( หน่วยเอสไอ ) ได้กำหนดหน่วยของมวลตามข้อใด และ 3
* กิโลกรัม

8.ข้อใดเขียนเป็นปริมาณ 150,000,000 เมตร ในรูปเลขยกกำลังได้ถูกต้อง
*1.5 x 108 เมตร

9.มวล 64 กิโลกรัม มีค่าเท่าใดในหน่วยมิลลิกรัม
*6.4 x 107 mg

10.ปริมาตร 27 ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่ากับกี่ลูกบาศก์เมตร
*2.7 x 10-5 m3


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น